PLC (Professional learning community)
PLC จะช่วยยกระดับความรู้ความเข้าใจของครูแต่ละคน ทั้งมิติความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่จะสอน และ ความรู้ความเข้าใจต่อการสอน เช่น หลักสูตร จิตวิทยาการสอน การออกแบบกิจกรรม การวัดและประเมินผล เป็นต้น
PLC ช่วยยกระดับทักษะของครูแต่ละคน เช่น ทักษะการออกแบบการเรียนรู้ ทักษะการสื่อสาร ทักษะ ICT ทักษะการวัดและประเมินผล ตลอดจนทักษะชีวิต เช่น ทักษะการจัดการความขัดแย้ง ทักษะการจัดการอารมณ์ ทักษะการอยู่ร่วมกัน เป็นต้น
PLC ช่วยให้ครูแต่ละคนค้นพบความหมายของชีวิต ความหมายของการเป็นครู รู้สึกถึงคุณค่าของงานครู เห็นเป้าหมายที่สำคัญร่วมกัน เป็นบุคคลและองค์กรการเรียนรู้ ทำงานเป็นทีม มีความเป็นกัลยาณมิตรนั่นคือถึงความมีอุดมการณ์นั่นเอง
กระบวนการ PLC
- การเตรียมองค์กร
เตรียมสภาพแวดล้อมให้สะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย และ สัปปายะ
- ก่อรูปวัฒนธรรมองค์กรใหม่
การร่วมกันกำหนดเป้าหมายองค์กรและข้อตกลงเบื้องต้น การออกแบบกิจกรรมเพื่อลดลำดับชั้นให้น้อยลงเป็นองค์กรระดับราบมากขึ้น และสร้างกลไกให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่เสมอ ทั้งเป็นกลไกที่ดึงดูดผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาอยู่ในกระบวนการด้วย เช่น การกำหนดช่วงเวลา สถานที่ หัวข้อ ผู้เข้าร่วม และผู้นำวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละครั้ง ซึ่งผู้นำหรือผู้บริหารเป็นองค์ประกอบสำคัญมากในขั้นตอนนี้
- กิจกรรม PLC เช่น
- Dialogue หรือ กระบวนการสุนทรียะสนทนาเพื่อเรียนรู้เพื่อการเรียนรู้กันและกัน ด้วยการคุยกันในระดับราบ เน้นการฟังอย่างรู้เท่าทันจิตใจของตนเอง เพื่อการขจัดการตัดสินที่เกิดขึ้นขณะฟัง การฟังนั้นก็จะเต็มไปด้วยความกรุณาต่อกันทุกคนจะมีโอกาสรับเนื้อความได้อย่างครบถ้วนทั้งมิติและเนื้อหา ตัวอย่างหัวข้อคำถามเพื่อ Dialogue เช่น ห้าปีที่แล้วเราเห็นองค์กรเราเป็นอย่างไร อีกห้าปีข้างหน้าเราอยากเห็นองค์กรเราเป็นอย่างไร อะไรที่หล่อหลอมให้เรากลายเป็นคนแบบนี้ เราอยู่ตรงไหนของจักรวาล เราเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ รอบตัวอย่างไร เป็นต้น
- S&L (Share & Learn) แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ความสำเร็จหรือความล้มเหลวจากหน้างานของกันและกัน เน้นอภิปรายร่วมกันอย่างสร้างสรรค์โดยมีเจตจำนงที่ดีต่อการทำให้งานพัฒนาขึ้นหรือเด็กๆ ได้รับการพัฒนาขึ้น อาจทำเป็นคู่ เป็นกลุ่มย่อย และ เป็นกลุ่มใหญ่ทั้งองค์กร ตัวอย่างหัวข้อคำถามเพื่อ S&L เช่น อะไรคือปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการพัฒนา ทำอะไรบ้าง ทำอย่างไร ผลเป็นอย่างไร อะไรที่ยืนยันว่าเราได้พบผลเช่นนั้น เราสามารถทำอะไรต่อได้บ้าง เป็นต้น
- AAR (After Action Review) เป็นการร่วมกันอภิปรายสรุปในแต่ละแง่มุมหลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมเพื่อทำให้เกิดการใคร่ครวญหรือการทบทวนต่อเรื่องนั้นๆ ตัวอย่างหัวข้อคำถามเพื่อ AAR เช่น เห็นอะไร รู้สึกหรือคิดอย่างไร อะไรที่เราได้เรียนรู้ เป็นต้น
- Lesson Study เป็นกระบวนการร่วมกันพัฒนากิจกรรมการสร้างการเรียนรู้ของกลุ่มครู ตัวอย่างหัวข้อคำถามเพื่อ Lesson Study เช่น ทำอย่างไรที่จะให้องค์กร(โรงเรียน)พัฒนาปัญญาภายในให้กับผู้เรียน กิจกรรมฝึกฝนการรู้ตัวมีอะไรบ้าง ทำอย่างไรบ้างกับเด็กแต่ละวัย การฝึกให้เด็กได้ใคร่ครวญควรมีกิจกรรมใดบ้าง การฝึกฝน Dialogue มีกระบวนการอย่างไร เป็นต้น
Lesson study จะทำให้ครูได้เรียนรู้การเรียนการสอนเพื่อค้นหาวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ดีกว่าซึ่งวิธีนี้ต้องเกิดขึ้นที่โรงเรียนผ่านกระบวนการวางแผนร่วมกัน ซึ่งมีกระบวนการดังนี้
1. ค้นหาประเด็นปัญหาที่เป็นอุปสรรคหรือเนื้อหาที่ผู้เรียนเข้าใจยากแล้วครูร่วมกันระดมความคิดเพื่อแยกอะไรคือสาเหตุของปัญหาที่แท้จริง และอะไรคืออาการที่แสดงออก ให้ชัดเจนครูทุกคนต้องร่วมกันคิด ร่วมกันแลกเปลี่ยน ปัญหาของแต่ละคน ซึ่งปัญหานั้นอาจมาจากทั้งนักเรียนหรือคุณครู และเป็นไปได้ทั้งในนักเรียนกลุ่มเล็ก กลุ่มใหญ่หรือทั้งชั้นเรียนขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาที่ครูต้องการพัฒนา ตัวอย่างปัญหาในการสอนคณิตศาสตร์ ตัวอย่างหัวข้อที่ทำ Lesson study เช่น การหา ครน.หรม. ของเศษส่วนในระดับชั้น ป.6 การแก้โจทย์ปัญหาโดยการวาดภาพในชั้น ป.4 การแก้โจทย์ปัญหาร้อยละในชั้น ป.5 เส้นขนานกับ Perspective ในชั้น ม.2 ซึ่งสุดท้ายแล้วเราต้องการให้เข้าใจเนื้อหานั้น และรู้วิธีที่จะสร้างการเรียนรู้สำหรับเนื้อหานั้น
2. ครูร่วมกันวางแผน ออกแบบวิธีการ หรือนวัตกรรม ในกระบวนการนี้จะเป็นการ BAR และ Share and Learn
3. ตัวแทนคุณครูอาสาที่จะสอนและให้เพื่อนครูเป็นผู้ร่วมสังเกตกระบวนการและผลที่เกิดกับผู้เรียน หรือ ถ้าเป็นปัญหาเดียวกันของหลายชั้นเรียนครูหลายคนสามารถนำวิธีการหรือนวัตกรรมไปใช้กับนักเรียนชั้นของตนเองแบบคู่ขนาน เพื่อจะให้ได้แง่มุมความสำเร็จหรือไม่สำเร็จเพื่อมาแลกเปลี่ยนกันในขั้นต่อไป
4. Reflection เพื่อสะท้อนอย่างเป็นกัลยาณมิตร ในการสะท้อนเราจะให้ความสำคัญที่ผลที่เกิดกับผู้เรียน ระยะเวลาที่ใช้ ไม่มุ่งเน้นไปที่ตัวครูมุ่งเพื่อพัฒนากระบวนการวิธีการในการจัดกิจกรรมให้ดีขึ้นอีก ขั้นนี้จะทำให้ครูทั้งกลุ่มจะมีความเข้าใจในเนื้อหานั้นและเข้าใจวิธีการการจัดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งขึ้นอีก
ขั้นตอน PLC
Step1 เตรียมสภาวะจิต ทำให้คนที่ร่วมวงกลับมารู้เนื้อรู้ตัว กลับมาอยู่กับตัวเอง มีสติรู้เท่าทันความรู้สึกทางกาย
รู้ทันความคิด และรู้ทันอารมณ์ เช่น การทำสมาธิ การทำกิจกรรมกำกับสติ Brain gym การทำจิตศึกษา การอ่านบทความสั้นๆ
เพื่อการใคร่ครวญ ฯลฯStep2(1) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ Share & Learn(SL) ด้วย Dialogue (ผู้ฟังฟังอย่างรู้เท่าทันความคิดเพื่อไม่ให้นำความคิดนั้นมาตัดสินเรื่องที่ฟัง) ขั้นนี้ควรเริ่มจาก Share ความสำเร็จ
เพราะการได้ฟังเรื่องราวความสำเร็จจะทำให้สมาชิกเกิดปีติ อยากเรียนรู้
อยากนำกลับไปใช้ หลังจากการสมาชิกในวง SLทำงานมาระยะหนึ่ง
เป็นการลงมือทำจริงๆ จนเกิดปัญญาปฎิบัติ เช่น ทำอะไร
ทำอย่างไร(นวัตกรรม) ทำไมจึงทำอย่างนั้น
ความสำเร็จเป็นอย่างไรซึ่งอาจมีชิ้นงานภาระงานมานำเสนอความงอกงามมานำเสนอประกอบด้วย
หลังจากนั้นก็ให้สมาชิกได้ Reflection ว่าคิดอะไร รู้สึกอย่างไร ได้เรียนรู้อะไร
จะนำไปใช้อย่างไร แล้วบันทึกสิ่งเหล่านี้บันทึกใน Logbookองค์การที่เริ่มต้นทำ PLC ถ้าสมาชิกในวง SL ยังไม่มีทักษะ Dialogue จำเป็นต้องมี Facilitator ที่เก่ง
เพื่อเป็นผู้อำนวยการให้วงแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันที่มคุณภาพ
ใส่ตัว Catalyst ที่ดี กระจายการมีส่วนร่วม
หล่อเลี้ยงวง SL ให้มีพลัง
ลื่นไหล แต่เมื่อทำไปสักพัก(หลายๆ
ครั้ง)เมื่อสมาชิกมีทักษะ Dialogue แล้วก็ไม่จำเป็นต้องมีFacilitator ก็ได้
เพราะทุกคนจะประคับประคองวง SL ให้มีการกระจายการมีส่วนร่วม
ให้มุ่งไปในทิศทางตามเป้าหมายของ SL ครั้งนั้นๆ ได้
Step2(2) การอภิปราเพื่อแก้ปัญหา ด้วย Creative Discussion คือมีการถกเถียงกันในประเด็น แต่เป็นการถกเถียงกันอย่างมีสติ อภิปรายกันอย่างสร้างสรรค์ ฟังอย่างเท่าทันความคิด เท่าทันอารมณ์ ไม่ผลีผลามโต้ตอบ ขั้นนี้การระบุปัญหาเพื่อการนำมาอภิปรายต้องชัดเจน อาจเป็นประเด็นใดประเด็นหนึ่งดังต่อไปนี้ SS : System study เป็นการปรับปรุงระบบงาน การวางแผนประจำปี การออกแบบระบบกิจกรรม
CS : Case study ปัญหาของเด็บางคน เด็ก LD ปัญหาพฤติกรรม ปัญหาความเป็นอยู่ของเด็ก ฯลฯ
LS : Lesson study นำเนื้อหาที่ผู้เรียนเข้าใจยาก นำปัญหาในการเรียนการสอน ในวิชา ในหน่วย ในเนื้อหามาพูดคุยกัน ออกแบบการเรียนการสอนร่วมกัน ปรับปรุงร่วมกัน
Step3 Empower ขอบคุณกันและกัน